เมนู

อีกประการหนึ่ง ความเป็นไปแห่งตานี้แล ของสัมปชาน
บุคคลผู้นิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความ
เป็นไปแห่งตาอื่นย่อมไม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งหู ฯลฯ ความเป็นไป
แห่งจมูก ฯล ฯ ความเป็นไปแห่งลิ้น ฯลฯ ความเป็นไปแห่งกาย ฯลฯ ความ
เป็นไปแห่งใจนี้แล ของสัมปชานบุคคลผู้นิพพาน ด้วยอนุปาทิเสส
นิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งใจอื่นย่อมไม่เกิดขึ้น
ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ ของสัมปชาน
บุคคลนี้เป็นปรินิพพานญาณ.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสิ้นไปแห่ง
ความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็นปรินิพพาน.


35. อรรถกถาปรินิพพานญาณนิทเทส


[226]พึงทราบวินิจฉัยในปรินิพพานญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
บทว่า อิธ คือในศาสนานี้. บทว่า สมฺปชาโน - ผู้รู้สึกตัว ความว่า
ผู้รู้สึกตัวด้วย สัมปชัญญะ 4 เหล่านี้ คือ
สาตถกสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในกิจที่ประโยชน์แก่ตัว 1
สัปปายสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในปัจจัยที่สบาย 1

โคจรสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในธรรมอันเป็นโคจร 1
อสัมโมหสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในความไม่หลงงมงาย 1.
บทว่า ปวตฺตํ - ยังความเป็นไป คือ ความเป็นไปแห่งปริยุฏ-
ฐานกิเลส และความเป็นไปแห่งอนุสัยกิเลส ตามสมควรในที่ทั้งปวง

บทว่า ปริยาทิยติ - ให้สิ้นไป คือ ทำให้เป็นไปไม่ได้ ด้วย
สามารถแห่งวิกขัมภนปหานในธรรมทั้งหลายที่ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่ง
อุปจารและวิปัสสนา. ด้วยสามารถแห่งตทังคปหานในธรรมทั้งหลาย
ที่ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา. ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทปหาน
ในธรรมทั้งหลายที่ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งมรรค. จริงอยู่ ท่านย่อ
ฌานสมาบัติมีทุติยฌานเป็นต้น มหาวิปัสสนา และมรรค ไว้ด้วย
หัวข้อไปยาล. เพราะญาณอันเป็นไปแล้วแก่ผู้พิจารณาญาณนั้น ชื่อว่า
ปรินิพพานญาณ. ฉะนั้น จึงเป็นอันท่านกล่าวไว้ว่า วิกฺขมฺภน-
ปรินิพฺพานํ -
ปรินิพพานด้วยการข่มไว้, ตทงฺคปรินิพฺพานํ - ปริ-
นิพพานด้วยองค์แห่งธรรมนั้น, สมุจฺเฉทปรินิพฺพานํ - ปรินิพพาน
ด้วยตัดเด็ดขาด. ด้วยบทเหล่านี้ ท่านจึงกล่าวถึงปัจจเวกขณญาณใน
การดับกิเลส.

ด้วยบทมีอาทิว่า อถวา ปน - อีกประการหนึ่ง พระสารีบุตรเถระ
แสดงถึงปัจจเวกขณญาณในการดับขันธ์.

บทว่า อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา - ด้วยอนุปาทิเสส
นิพพานธาตุ ได้แก่ เพราะนิพพานธาตุ มี 2 อย่าง คือ สอุปาทิเสส
นิพพานธาตุ 1 อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ 1. ในนิพพานธาตุ 2 อย่าง
นั้น ชื่อว่า อุปาทิ เพราะอรรถว่าอันบุคคลถือมั่น คือ ยึดถืออย่าง
แรงกล้าว่า เรา ของเรา. บทว่าอุปาทินี้เป็นชื่อของขันธปัญจกะ.
ชื่อว่า อุปาทิเสสะ เพราะอรรถว่าอุปาทินั่นแหละยังเหลืออยู่.
ชื่อว่า สอุปาทิเสสะ เพราะอรรถว่าเป็นไปกับด้วยอุปาทิเสสะ
คือขันธ์ 5 เหลืออยู่.
ชื่อว่า อนุปาทิเสสะ เพราะอรรถว่าไม่มีอุปาทิเสสะในนิพพาน
ธาตุนี้.
ท่านกล่าวถึงสอุปาทิเสสะก่อน ส่วนนิพพานธาตุนี้เป็นอนุปาทิ-
เสสะ. ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุนั้น.
บทว่า จกฺขุปวตฺตํ - ความเป็นไปแห่งตา คือ ความปรากฏเกิด
ขึ้นทางตา.
บทว่า ปริยาทิยติ ได้แก่ ย่อมสิ้นไป คือ ถูกย่ำยี. ใน
บทที่เหลือมีนัยนี้.
จบ อรรถกถาปรินิพพานญาณนิทเทส

สมสีสัฏฐญาณนิทเทส


[227] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการ
ตัดขาดโดยชอบและนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณอย่างไร ?
คำว่า ธรรมทั้งปวง คือ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18
กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม
อรูปาวจรธรรม โลกุตรธรรม.
[228] คำว่า สมฺมาสมุจฺเฉเท - ในการตัดขาดโดยชอบ
ความว่า พระโยคาวจรย่อมตัดกามฉันทะขาดโดยชอบ ด้วยเนกขัมมะ
ย่อมตัดพยาบาทขาดโดยชอบ ด้วยความไม่พยาบาท ย่อมตัดถีนมิทธะ
ขาดโดยชอบ ด้วยอาโลกสัญญา ย่อมตัดอุทธัจจะขาดโดยชอบ ด้วย
ความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมตัดวิจิกิจฉาขาดโดยชอบ ด้วยการกำหนดธรรม
ย่อมตัดอวิชชาขาดโดยชอบ ด้วยญาณ ย่อมตัดอรติขาดโดยชอบ ด้วย
ความปราโมทย์ ย่อมตัดนิวรณ์ขาดโดยชอบ ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ
ย่อมตัดกิเลสทั้งปวงขาดโดยชอบ ด้วยอรหัตมรรค.
[229] คำว่า นิโรเธ - ในนิโรธ ความว่า พระโยคาวจรย่อมทำ
กามฉันทะให้ดับ ด้วยเนกขัมมะ ย่อมทำพยาบาทให้ดับ ด้วยความไม่
พยาบาท ย่อมทำถีนมิทธะให้ดับ ด้วยอาโลกสัญญา ย่อมทำอุทธัจจะ
ให้ดับ ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมทำวิจิกิจฉาให้ดับ ด้วยการกำหนด
ธรรม ย่อมทำอวิชชาให้ดับด้วยญาณ ย่อมทำอรติให้ดับ ด้วยความ